วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประกันภัยสุขภาพ

ประกันสุขภาพ คืออะไร


ประกันสุขภาพ คืออะไร

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
การประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย
การประกันสุขภาพมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีขอบเขตความคุ้มครองแค่ไหน
การประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุ และสุขภาพหมู่และการประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพรายบุคคล ทั้ง 2 ประเภท ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่

1. ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่ายอันเกิดจาก
    – ค่าห้องและค่าอาหาร
    – ค่าบริการทั่วไป
    – ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ

2. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
3. ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลีนิค หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
6. ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
7. การชดเชยค่าใช้จ่าย

อันเกิดขึ้นจากการบริการโดย พยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาลหรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์
อัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. อายุ อายุของผู้เอาประกันภัยที่แตกต่างกัน สามารถแสดงถึงโอกาสที่ร่างกาย จะบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย รวมถึงการได้รับผลกระทบแทรกซ้อนแตกต่างกันไปด้วย เพราะบุคคลทั่วไปเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพได้ มากขึ้น และถ้าได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยแล้วประสิทธิภาพในการที่ร่างกายจะซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอก็จะลดลง มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงและต้องใช้เวลาในการพักรักษาตัวนานกว่า บุคคลที่มีอายุน้อยกว่า
2. เพศ ปัจจุบันความเสี่ยงภัยของเพศหญิงจะไม่แตกต่างจากเพศมากนัก แต่อย่างไรก็ตามความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายยังมีความแตกต่างกันอยู่โดยปกติ เพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บทางร่ายกายนานกว่าเพศชาย ผู้รับประกันภัยจึงอาจจะรับประกันภัยโดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสูงกว่าเพศ ชาย
3. สุขภาพ ได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล รวมทั้งสภาพร่ายกายของผู้ขอเอาประกันภัย บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรง โอกาสที่จะได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงหรือได้รับผลกระทบจนทุพพลภาพ เป็นเวลานานในอนาคต ก็ย่อมเป็นไปได้น้อยกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอผิดปกติหรือมี ประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรงมาก่อน อีกทั้งอาการผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจบางอย่างจะก่อให้เกิดแนวโน้มหรือ ความเป็นไปได้สูงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น โรคลมบ้าหมู ประสาทหลอน หรืออาการตื่นตกใจง่าย เป็นต้น
4. อาชีพ อาชีพแสดงถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลซึ่ง จะนำไปสู่ความเสี่ยงภัยหรือแนวโน้มที่จะได้รับบาทเจ็บหรือเจ็บป่วยที่ต่าง กันออกไป
5. การดำเนินชีวิต แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรือ อุบัติเหตุของบุคคลที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย เป็นต้น
6. สำหรับการประกันภัยหมู่จะต้องมีการพิจารณา ถึงจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัยด้วยเพราะถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงจะมีมากกว่า ซึ่งจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลงได้
การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท ย่อมขึ้นอยู่กับสุขภาพ / อายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ และในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยนั้น บริษัทจะไม่คุ้มครอง “โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย” อาทิเช่น หากผู้เอาประกันภัยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนการทำประกันภัย บริษัทจะไม่คุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยนั้นต้องรักษาตัวด้วยโรคเบาหวาน แต่จะคุ้มครองหากผู้เอาประกันภัยนั้นเกิดเป็นโรคหัวใจขึ้นมาภายหลัง
ดังนั้น หากผู้ขอเอาประกันภัยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวหลายอย่างโอกาสที่จะเจ็บป่วยในอนาคต ย่อมมากกว่าผู้มีสุขภาพแข็งแรง บริษัทอาจจะพิจารณารับประกันภัยผู้ขอเอาประกันภัยรายนั้นด้วยเบี้ยประกันภัย ที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้
ในกรณีที่ผู้ขอเอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เช่น เอดส์ มะเร็ง บริษัทมักจะไม่รับประกันภัย
หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นอย่างไ
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันสุขภาพ ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภท
อื่น ๆ คือ “จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้”

ข้อยกเว้นความคุ้มครอง
การประกันสุขภาพโดยทั่วไป จะไม่คุ้มครองการเข้าพักรักษาตัวซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บหรือป่วยไข้ เช่น การทำหมัน การทำศัลยกรรม การลดความอ้วน การพักผ่อน รวมทั้งการรักษาโรคประสาท กามโรค การติด และการตรวจสายตา เช่นกัน

กองทุนประกันสังคม คือ ?

กองทุนประกันสังคม คือ ?


กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
เงินสมทบ คือ
?
     เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง และต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างที่ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง
คนที่ถูกหักเงินสมทบ คือใคร และถูกหักอย่างไร?     ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล โดยลูกจ้างจะถูกนายจ้างหักในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง นายจ้างก็จะร่วมจ่ายเงินสมทบเท่าจำนวนที่หักจากลูกจ้าง คือ อัตราร้อยละ 5 และรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 2.75 ตามตาราง 


ทำไมต้องถูกหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
    
หลักการประกันสังคม มิใช่การสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมาจากการที่รัฐให้ความช่วยเหลือประชาชน หรือผู้ประสบความเดือดร้อนแบบให้เปล่าจากเงินงบประมาณที่มาจากเงินภาษีอากร แต่การ ประกันสังคม คือ หลักการที่กำหนดให้ประชาชนที่มีรายได้ช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยการออมและรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ตามแนวทางการเฉลี่ยความเสี่ยงภัยร่วมกันของสมาชิก การจะอาศัยเงินภาษีอากรอย่างเดียวย่อมสำเร็จได้ยาก เนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงกำหนดให้ผู้ประกันตนแต่ละคนร่วมกันออกเงินสมทบเข้ากองทุน และให้นายจ้างกับรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วย

ถูกหักเงินสมทบแล้วได้อะไร     ผู้ประกันตนที่ถูกหักเงินสมทบ จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

หลักฐานประจำตัวผู้ประกันตน

     1. บัตรประกันสังคม
        
ปัจจุบันสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรประกันสังคม และบุคคลต่างชาติที่ทำงานโดยมีใบอนุญาตทำงาน จะได้รับบัตรประกันสังคม เพื่อใช้ติดต่อกับสำนักงานประกันสังคม
     2. บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล         ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน และเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษา จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลที่กำหนดชื่อสถานพยาบาล และชื่อของผู้ประกันตน
        
เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ ประสงค์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องพิเศษ แพทย์พิเศษ หรือค่าโทรศัพท์ เหล่านี้ต้องจ่ายเพิ่มเอง รวมถึงการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงานด้วยเหตุหรือกลุ่มโรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์

ถ้าขณะนี้ไม่ได้ใช้สิทธิอะไรเลย เงินสมทบจะหายไปไหนหรือไม่ อย่างไร     เงินสมทบที่ถูกหักเพื่อการคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร และว่างงาน (รวมเป็นอัตราร้อยละ 2 ของค่าจ้าง) แม้ผู้ประกันตนยังไม่ได้ใช้สิทธิกรณีใดเลยในขณะนี้เงินในอัตราร้อยละ 2 นี้จะถูกนำไปรวมเป็นกองทุนกลาง เพื่อใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือจ่ายเป็นเงินประโยชน์ทดแทน การขาดรายได้ให้แก่เพื่อนๆ สมาชิกที่เป็นผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบความเดือดร้อนจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร หรือว่างงาน ตามหลักเกณฑ์การเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกัน
    
สำหรับเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นส่วนที่รัฐบาลจ่ายสนับสนุนให้กับผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 และกรณีชราภาพ เป็นการหักเงินสมทบเพื่อการออม โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบร้อยละ 3 และนายจ้างสมทบร้อยละ 3 รวมเป็นร้อยละ 6 ของทุกเดือน ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับคืนเป็นประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยจะได้รับเป็นเงินก้อน ซึ่งเรียกว่า เงินบำเหน็จชราภาพ ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ครบ 180 เดือน หรือรับเป็นรายเดือน ซึ่งเรียกว่า เงินบำนาญชราภาพ ถ้าส่งเงินสมทบกรณีชราภาพครบ 180 เดือนขึ้นไป (เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541)
 

ฟิสิกส์

ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์

ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์




ข้อมูลทางฟิสิกส์
การศึกษาหาข้อพิสูจน์ต่างๆทางฟิสิกส์ เน้นข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถอธิบายข้อสงสัยต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์ได้ ดังนั้นในหลักการทดลองในห้องปฏิบัติการ จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ และแปลความ สรุปผลการทดลองออกมา เมื่อเผยแพร่ออกมาและเป็นที่ยอมรับ จะนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีและกฎต่อไป ในการทดลองจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการวัดข้อมูลอย่างละเอียดและแม่นยำ โดยข้อมูลนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) และ ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data)
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่มีขนาด ไม่สามารถวัดออกมาได้ เป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตของการรับรู้ทางความรู้สึก และสัมผัสเท่านั้น เช่น สี กลิ่น รส
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณเชิงตัวเลข เช่น อุณหภูมิ ระยะทาง น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งก็ต้องมีเครื่องมือในการวัดที่เป็นมาตรฐานสากล จึงจะนำสิ่งที่วัดได้ มาเปรียบเทียบกันได้